GRACEiiz
ใครดีมา เราดีตอบ ใครร้ายมา เรา x 2 ^^ โกรธยาก,,หายยาก :P
วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555
รายละเอียดการทำงานตลอดทั้งอาทิตย์ 2-5 เม.ย. 2555
อาทิตย์นี้ซ้อมใหญ่งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พี่ที่ฝ่ายแทบไม่มีใครอยู่เลย งานเราก็แทบจะไม่เดินเพราะงานที่ทำอยู่ต้องถามพี่เป็นระยะๆว่า อันนี้โอเคไหมคะ ดีหรือยัง เนื้อหาผ่านไหม พอพี่เค้าไม่อยู่เราก็ไปต่อไม่ถูก แถมที่ฝ่ายก็ยุ่งมากๆ โทรศัพท์เข้าทั้งวันรับโทรศัพท์ซะส่วนใหญ่เลยช่วยพี่หาข่าวมาอัพในเว็บไซต์ ทั้งอาทิตย์ช่วยงานที่ศูนย์อย่างเดียวเลย ไม่ได้ทำเว็บไซต์ผู้เชี่ยวชาญเลย แต่ก็ดีใจที่พี่เค้ายังมาชมบ้างว่า เริ่มเข้าใจตัวงานมากขึ้น หลายๆอย่างเริ่มลงตัว ^^ ดีใจสุดๆเลย ค่อยมีกำลังใจขึ้นมาหน่อย
วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555
รายงานการทำงานตลอดทั้งอาทิตย์ 26-30 มี.ค. 2555
มารายงานช้าไปหน่อยนะคะเพราะว่าวันศุกร์ช่วงบ่ายโทรศัพท์เกรซหายไม่เป็นอันทำงานเลยคะ T^T เศร้ามากๆ แล้ว เสาร์-อาทิตย์ ที่อพาร์ทเมนต์ก็ไม่มีเนต มาอาศัยเนตที่กรมเอา
งานโดยรวมนะคะ เกรซก็นั่งอ่านหนังสือ โฟโต้ช้อปแทบจะทั้งเล่ม ศึกษารายละเอียดของมันเพิ่มแล้วก็ปรับเปลี่ยมสีพื้นหลังธีมหลักจากสีส้ม-เหลือง มาเป็นสีม่วง-ขาว เพราะพี่เค้าแนะมาว่า ลองแบบนี้ มันจะดีกว่าไหม?? ทีนี้งานใหญ่จะต้องเปลี่ยนทั้งหมด!!! ทั้งHead หลัก หัวเมนู รายละเอียดต่างๆ เราใส่เป็นผีเสื้อตัวเล็กๆ คิดว่าน่ารักดี พวกพี่เค้ากลับบอกว่า อะไร เกี่ยวอะไรกัน แป่วว!!! เปลี่ยนอีกคะ เปลี่ยนใหม่หมด งานทั้งอาทิตย์แทบจะไม่คืบหน้าเลยคะ เพราะทำแล้วก็เปลี่ยน ทำแล้วก็เปลี่ยน ประจวบกับที่ใกล้ งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เพราะว่าหัวหน้าโดนเรียกไปประชุมแทบทุกวันเกี่ยวกับการร่วมพิธี เวลาเราทำพี่เค้าก็ไม่อยู่ พอเค้ากลับมาก็ไม่ถูกใจ ก็ต้องเปลี่ยน!!! งานก็ไม่เดิน หัวหน้าก็อารมณ์เสียตลอดเวลาที่กลับมา เข้าหน้าไม่ติดเลย
มาวันศุกร์เกรซยังโดนล้วงกระเป๋าอีก เห้อออ,,,ตลอดทั้งอาทิตย์ แย่ คะ :((
งานโดยรวมนะคะ เกรซก็นั่งอ่านหนังสือ โฟโต้ช้อปแทบจะทั้งเล่ม ศึกษารายละเอียดของมันเพิ่มแล้วก็ปรับเปลี่ยมสีพื้นหลังธีมหลักจากสีส้ม-เหลือง มาเป็นสีม่วง-ขาว เพราะพี่เค้าแนะมาว่า ลองแบบนี้ มันจะดีกว่าไหม?? ทีนี้งานใหญ่จะต้องเปลี่ยนทั้งหมด!!! ทั้งHead หลัก หัวเมนู รายละเอียดต่างๆ เราใส่เป็นผีเสื้อตัวเล็กๆ คิดว่าน่ารักดี พวกพี่เค้ากลับบอกว่า อะไร เกี่ยวอะไรกัน แป่วว!!! เปลี่ยนอีกคะ เปลี่ยนใหม่หมด งานทั้งอาทิตย์แทบจะไม่คืบหน้าเลยคะ เพราะทำแล้วก็เปลี่ยน ทำแล้วก็เปลี่ยน ประจวบกับที่ใกล้ งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เพราะว่าหัวหน้าโดนเรียกไปประชุมแทบทุกวันเกี่ยวกับการร่วมพิธี เวลาเราทำพี่เค้าก็ไม่อยู่ พอเค้ากลับมาก็ไม่ถูกใจ ก็ต้องเปลี่ยน!!! งานก็ไม่เดิน หัวหน้าก็อารมณ์เสียตลอดเวลาที่กลับมา เข้าหน้าไม่ติดเลย
มาวันศุกร์เกรซยังโดนล้วงกระเป๋าอีก เห้อออ,,,ตลอดทั้งอาทิตย์ แย่ คะ :((
วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555
ภาพสถานที่ฝึกงาน
![]() |
โต๊ะนั่งทำงานประจำตัว(รกมาก) |
![]() |
สภาพห้องทำงาน |
![]() |
ประตูทางเข้าห้องทำงาน |
![]() |
ห้องฝ่ายบริหาร |
![]() |
ประตูทางเข้าห้องทำงานร่วมกับฝ่ายเทคนิค |
![]() |
ถ่ายจากมุมฝ่ายช่างเทคนิค |
![]() |
นั่งทำงานแล้วค๊า |
วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555
รายงานการทำงานตลอดทั้งอาทิตย์ 19-23 มี.ค. 2555
- อาทิตย์นี้เริ่มสัมภาษณ์ถึงความต้องการต่างๆรวมทั้งองค์ประกอบค์ต่างๆที่ผู้เชี่ยวชาญต้องการจากผู้บริหารระดับสูง คือ ดร.จรูญ ไชยศร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านประชาสัมพันธ์ ตื่นเต้นมากๆ เพราะท่านเป็นผู้บริหารระดับสูงของกรมประชาสัมพันธ์ ท่านได้ให้ขอบเขตของสิ่งที่ต้องการมา และเราต้องมาจัดสรรแบ่งขนาดของแต่ละส่วนว่าจะให้อยู่มีขนาดเท่าใด อยู่ตรงส่วนไหน สีอะไร และเนื้อหาวรมีอะไรบ้าง แต่ก็ยังไม่เหมาะเท่าที่พี่เค้าต้องการสักเท่าไร
- ต้องเรียนรู้การใช้โปรแกรม Photoshop เพิ่มเติมอย่างมาก เพราะที่ทำออกมามันเป็นอะไรที่มันธรรมดาเกินไปทำให้ฉันรู้ว่าการที่เรารู้แค่เครื่องมือพื้นฐานของโปรแกรมนี้เท่าที่เรียนมาในห้องเรียนยังคงไม่เพียงพอ ต้องเอาหนังสือมาศึกษา แทบทั้งเล่ม และยังต้องศึกษาความหมายของสี การใช้สีให้เหมาะกับลักษณะงานด้วย T^T
เรียกได้ว่าแทบทั้งอาทิตย์นี้เกือบจะไม่มีความเคลื่อนไหวของงานเลย แต่อย่างน้อย หัว Head ที่มองเหมือนจะง่ายๆ แต่กลับเต็มไปด้วยรายละเอียดเล็กๆน้อยๆทั้งเรื่องสีที่นำมาใช้ รูปภาพประกอบ ตัวหนังสือ กรอบ แบล็กกราวน์ ฯ ก็สำเร็จออกมาได้สมใจของหัวหน้า (ดีใจสุดๆ) และได้อัพขึ้น Server ^^
ขอบเขตของงานทั้งหมด
ได้รับมอบหมายการทำเว็ปไซต์ผู้เชี่ยวชาญของกรมประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งทำรูปเล่มครบทั้ง 3 บท ส่งทางกรม ก่อนจบการฝึกงาน
วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555
รายละเอียดสถานที่ฝึกงาน
รายละเอียดของสถานที่ฝึกงาน
สถานที่ฝึกงาน :
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์
ที่อยู่ :
กรมประชาสัมพันธ์ เลขที่9 ซ.อารีย์สัมพันธ์
ถ.พระราม6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
ผู้ควบคุม :
นายพลี อุดมพรมนตรี
ตำแหน่งผู้ควบคุม :
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ
แผนผังองค์กร
ข้อมูลองค์กร
ประวัติกรมประชาสัมพันธ์
กรมประชาสัมพันธ์เป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์
ของรัฐบาล สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ในการ เสริมสร้าง
ความเข้าใจอันดี ระหว่าง รัฐบาล และหน่วยงาน ของรัฐบาล กับประชาชน ตลอดจน ระหว่าง
ประชาชน ด้วยกัน โดยวิธีการ ให้ข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง และรับฟัง ความคิดเห็น
ของประชาชน เพื่อเสนอรัฐบาล และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่
โน้มน้าว ชักจูง ประชาชน เพื่อก่อให้เกิด ความร่วมมือ แก่รัฐบาล และ หน่วยราชการ
ต่าง ๆ ตาม แนวทาง ที่ถูกที่ควร ในระบอบ ประชาธิปไตย โดยมี พระมหากษัตริย์
เป็นประมุข นอกจาก สำนักงานใหญ่ ในกรุงเทพ มหานคร แล้ว กรมประชาสัมพันธ์ ยังมี
สำนัก ประชาสัมพันธ์ เขต อีก 8 สำนัก ได้แก่ สปข.1 ขอนแก่น สปข.2 อุบลราชธานี สปข.3 ลำปาง สปข.4 พิษณุโลก สปข.5 สุราษฎร์ธานี สปข.6 สงขลา สปข.7 ระยอง และ สปข.8 กาญจนบุรี
เพื่อเผยแพร่ และ ประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร ให้เข้าถึง ประชาชน ในส่วน ภูมิภาค ขณะ เดียวกัน
กรมประชาสัมพันธ์ ยังมี สำนักงาน ประชาสัมพันธ์ ครบทุก จังหวัด
กรมประชาสัมพันธ์เริ่มก่อตั้งเมื่อ 3 พฤษภาคม 2476 ภายหลัง
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตย
มีรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมาย สูงสุด ของประเทศ โดยมีชื่อ ในระยะเริ่มแรก ว่า
"กองโฆษณาการ” และได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานโฆษณาการ”
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2476 และได้มีการพัฒนา ผลงาน มาเป็นลำดับ โดยมี การปรับปรุง และขยาย
ความรับผิดชอบ เพิ่มขึ้นทุก ๆ ระยะ ตามความ เจริญ ก้าวหน้า ทางวิชาการ
สภาพของสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ตลอดจน นโยบายของรัฐบาล ในแต่ละสมัย
และเปลี่ยนชื่อมาเป็น "กรมโฆษณาการ” เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2483 หลังจากนั้น
12 ปี ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมประชาสัมพันธ์”
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2495 3 พฤษภาคม 2476 ตั้งเป็น "กองการโฆษณา” โดยพระราชบัญญัติ จัดตั้งกระทรวงและกรม มีฐานะเป็น กรมอิสระ ขึ้นตรงต่อคณะรัฐมนตรี
9 ธันวาคม 2476 เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานโฆษณาการ” มีฐานะเป็นกรม หัวหน้าสำนักงาน เทียบเท่าอธิบดี แบ่งส่วนราชการเป็น 3 กอง คือ สำนักงาน เลขานุการกรม กองเผยแพร่ความรู้ และกองหนังสือพิมพ์ โดย ทำหน้าที่ หลัก 3 ประการ คือให้ข่าว และความรู้ แก่ประชาชน เพื่อป้องกัน ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับรัฐบาล และประเทศ โดยส่วนรวม
31 มีนาคม 2481 โอนกิจการด้านช่าง และทะเบียนวิทยุ จาก กรมไปรษณีย์ โทรเลข มาขึ้นกับ สำนักงาน โฆษณาการ และมีการตั้ง โฆษณาการเขต ขึ้นเป็นเขตแรก ที่จังหวัด หนองคาย และ ที่จังหวัด พระตะบอง เป็นเขตที่สอง
5 กรกฎาคม 2483 เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมโฆษณาการ”และมีการตั้ง กองการ ต่างประเทศ เพิ่มขึ้น เพื่อติดต่อ และ โฆษณาการ เผยแพร่ ข่าวสาร ต่อชาว ต่างประเทศ
4 สิงหาคม 2490 โอนสำนักงาน ส่งเสริมการท่องเที่ยว จากกระทรวงคมนาคม มาขึ้นกับ กรมโฆษณาการ
8 มีนาคม 2495 เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมประชาสัมพันธ์” เพื่อให้เหมาะสมกับ ภาระหน้าที่ ในฐานะ แหล่ง การเผยแพร่ นโยบาย และ ผลงาน ของรัฐบาล รวมทั้ง เผยแพร่ ข่าวสาร การเมือง ศีลธรรม วัฒนธรรม ความรู้ และ ความบันเทิง ตลอดจน เป็นสื่อกลาง สร้างความสัมพันธ์ อันดี ระหว่าง รัฐบาล กับ ประชาชนด้วย
พ.ศ. 2497 ตั้ง "สำนักงานแถลงข่าวไทยในต่างประเทศ” ขึ้นที่ลอนดอน และวอชิงตัน และได้จัดตั้ง กองประชา สัมพันธ์ ภาคพื้นที่ จังหวัด สุราษฎร์ธานี เป็นแห่งแรก ทำหน้าที่ เป็นหน่วยงาน สาขา ของ กรมประชาสัมพันธ์ ในภาคใต้ โดยเฉพาะ
1มกราคม2503โอนสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวไปรวมกับ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ และเพิ่มหน่วยงาน ระดับกอง คือ กองสำรวจประชามติ เพื่อสำรวจ และรับฟัง ความคิดเห็น ของประชาชน
พ.ศ.2503 ได้มีการติดตั้ง "กองประชาสัมพันธ์เขต" ขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น ลำปาง และสงขลา เพื่อเป็นหน่วยงานสาขาของกรมประชาสัมพันธ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ตอนล่าง
20 ตุลาคม 2504 ตั้ง "โรงเรียนการประชาสัมพันธ์" ขึ้นในสังกัดกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่วิชาความรู้และส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาการประชาสัมพันธ์ และการติดต่อสื่อสาร
พ.ศ.2513 ตั้ง "สำนักงานแถลงข่าวไทยขึ้นที่พนมเปญประเทศเขมร" ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว
21สิงหาคม2518มีพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการบริหารส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาค ของกรมประชาสัมพันธ์ใหม่ โดยมีหน่วย ระดับกอง 15 หน่วยงาน
มิถุนายน 2521 ตั้ง "สำนักงานแถลงข่าวไทยที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย"
1 มกราคม 2522 ตั้ง "สำนักงานแถลงข่าวไทยที่เจดดาห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
17 กันยายน 2526 ตั้ง "ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 4 สุราษฎร์ธานี" เพิ่มขึ้น 1 แห่ง
7สิงหาคม2529มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ ออกเป็นราชการบริหารส่วนกลาง(20หน่วยงาน)และราชการบริหารส่วนภูมิภาค (สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด)โดยเพิ่มหน่วยงานใหม่คือ กองงานคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ,ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต5-8, และวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11
วันที่26มีนาคม2540มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ โดยแบ่งเป็นราชการบริหารส่วนกลาง22หน่วยงานและราชการบริหารส่วนภูมิภาค (สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด 75 จังหวัด)
ตรากรมประชาสัมพันธ์
ลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย
- - พัฒนาเว็บไซต์
ภายใต้หัวข้อเว็บเพจผู้เชี่ยวชาญของกรมประชาสัมพันธ์
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
Flow Chart
- ผังงาน (Flowchart) คือ แผนภาพแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนขั้นแรกมาหลายปี โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ในการเขียนผังงาน เพื่อช่วยลำดับแนวความคิดในการเขียนโปรแกรม เป็นวิธีที่นิยมใช้เพราะทำให้เห็นภาพในการทำงานของโปรแกรมง่ายกว่าใช้ข้อความ หากมีข้อผิดพลาด สามารถดูจากผังงานจะทำให้การแก้ไขหรือปรับปรุงโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น
ประเภทของผังงาน ผังงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- ผังงานระบบ (System flowchart) หมายถึง ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานของระบบทั้งหมด เป็นแสดงการทำงานทั้งระบบอย่างกว้าง ๆ เป็นผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบงานหนึ่ง ๆ ในลักษณะของภาพกว้าง ๆ แต่จะไม่เจาะลึกลงไปว่าในระบบงานย่อย ๆ นั้นจะมีการทำงานหรือวิธีการทำงานอย่างไร ผังงานจะแสดงทิศทางการทำงานในระบบ ตั้งแต่เริ่มต้นว่าข้อมูลเกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด เก็บอยู่ในรูปแบบใด และผ่านขึ้นตอนการประมวลผลอย่างไร อะไรบ้าง (แต่จะไม่เน้นถึงวิธีการประมวลผล) จนสุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้เก็บอยู่ในรูปแบบใด ข้อมูลจะไม่ละเอียด จึงไม่สามารถเขียนโปรแกรมจากผังงานระบบได้
- ผังงานโปรแกรม (Program flowchart) หมายถึง ผังงานที่แสดงขั้นตอนของคำสั่งการทำงานอย่างละเอียดตั้งแต่เริ่มต้น โดยใช้สัญลักษณ์ในการเขียนผังงานเช่นเดียวกับการเขียนผังงานระบบ เป็นการวางแผนการเขียนโปรแกรมโดยผังงานโปรแกรมจะแสดงลำดับคำสั่งเป็นขั้นตอนในการปฏิบัติงานอย่างละเอียด ผังงานนี้อาจสร้างจากผังงานระบบ โดยผู้เขียนผังงานอาจดึงเอาแต่ละจุดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่า ถ้าใช้คอมพิวเตอร์ทำงานตรงจุดนั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ควรจะมีขั้นตอนในการเขียนผังงานอย่างไร เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซึ่งการเขียนผังงานนี้จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเขียนโปรแกรมของผู้เขียนโปรแกรมได้มาก เพราะสามารถดูได้ง่ายว่าในแต่ละขั้นตอนการทำงานควรใช้คำสั่งอย่างไร
- สัญลักษณ์ในการเขียนผังงานที่นิยมใช้กันนั้น เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานที่ชื่อว่า American National Standard Institute (ANSI) และ International Standard Organization (ISO) เป็นผู้กำหนดและรวบรวมให้เป็นสัญลักษณ์มาตรฐานในการเขียนผังงาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)